วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2552

การเลี้ยงโคเนื้อในชนบท

เคล็ดลับการเลี้ยงโคเนื้อ

1.คอกโค
คอกโคที่ดีไม่ต้องแพงแต่ต้องถูกหลักการ แข็งแรง ประหยัด
สะอาดแห้งไม่เปียกแฉะ โคนอนได้ตลอดคืน ถ้าคอกแฉะโคจะไม่นอน ไม่ขังรวมกับควาย ให้พื้นลาดเอียงระบายน้ำดีมาก พื้นไม่แข็งกระด้าง พื้นที่คอก 10-12 ตร.ม./ตัว รางอาหารไม่ต้องยกสูงให้ติดพื้นแต่กันขี้วัวไม่ให้ปนเปื้อนหญ้าและอาหาร ความยาวรางอาหาร 30 ซม./ตัว มีอ่างเกลือแร่โดยใช้เกลือป่น 50 กก.+ ไดแคลเซียมฟอสเฟต 50 กก.ผสมหัวแร่ธาตุ 0.5 กก.(พรีมิกซ์) มีอ่างน้ำสะอาดให้ดื่มตลอดเวลา คอกต้องกันฝนได้ป้องกันคอกแฉะ

2.หลักการผสมโคให้ติดลูกดี
แม่โคที่เลือกมาเลี้ยงต้องโครงร่างใหญ่เคยมีลูกแล้ว เลือกพ่อพันธุ์ดีผสม พ่อพันธุ์ดีคือให้ลูกเหมือนพ่อมากที่สุด ดังนั้นแม่ไม่สวยก็ให้ลูกงามถ้าเชื้อพ่อแรง หลังคลอดแม่โคควรจะกลับมาเป็นสัด ภายใน 60-90 วัน ควรบำรุงแม่โคก่อนคลอด 2 เดือนจะทำให้นมดี กลับเป็นสัดเร็วผสมได้เร็ว ปกติผสมเทียมถ้าผสมเก่งดีกว่าผสมจริง ลดปัญหาติดเชื้อ พ่อใหญ่แต่แม่เล็ก ผสมวัวอย่าหลงคำโฆษณา!! วัวลูกผสมพื้นเมืองกับบราห์มัน เลี้ยงง่าย โตเร็ว
3.หลักการผสมเทียมโคคือ "เห็นการเป็นสัดเช้าให้ผสมในช่วงบ่าย 3-4 โมง เห็นการเป็นสัดบ่ายควรผสมในช่วงเช้า 7-8 โมง และเห็นการเป็นสัดตอนเย็นควรผสมก่อนเที่ยงวัน" แต่หากเห็นการเป็นสัดช่วงประมาณเที่ยงคืนถึงตี 4 ควรผสมในเช้าวันนั้น สรุปช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการผสมติดคือ 12-18 ชั่วโมง หลังจากเริ่มเป็นสัด ผสมเทียม 2-3 ครั้งไม่ติดลองผสมจริงถ้าไม่ติดควรคัดทิ้งแม่โคได้รับการผสมพันธุ์จนติดแล้วตั้งท้องเฉลี่ยประมาณ 282 วัน หากไม่ติดหลังผสมแล้ว 21 วันจะกลับเป็นสัดอีกคือแม่โคที่ปกติดีจะเป็นสัดทุกๆ 21 วันหากไม่ได้ผสมพันธุ์ แต่ละครั้งแม่โคจะเป็นสัดนาน 24-36 ชม.
4. อาหารโค
1.อาหารหยาบ เป็นอาหารหลักได้แก่หญ้า-ฟาง มีให้พอกินทุกวัน โคใหญ่กินหญ้าสดวันละ 30-40 กก. อาหารหยาบที่ดีคือพืชตะกูลถั่วมีโปรตีนสูงกินแล้วโตเร็ว เช่นถั่วฮามาต้า ใบกระถินสด หรือใบกระถินแห้ง ให้กินผสมกับหญ้าสด
2.อาหารขัน เป็นอาหารเสริมให้โค ได้แก่อาหารสำเร็จรูป อาหารผสม ให้กินวันละ 1 กก.ในหน้าแล้ง ในหน้าฝนหญ้าสมบูรณ์ไม้จำเป็น แม่โคผอม ควรเสริมอาหารข้นก่อนคลอด 1-2 กก./แม่/วัน จะให้นมดีลูกสมบรณืเป็นสัดเร็ว อย่าเร่งอาหารข้นก่อนคลอดนานจะคลอดยากเพราะลูกโคตัวใหญ่เกินไป อาหารข้นสูตรชนบท หัวอาหารหมูรุ่น 5 กก+ รำโรงสีเล็ก 15 กก. + ปลายข้าวหรือข้าวเปือก 5 กก. หรืออาจให้กินอาหารข้นเดี่ยวเช่น รำ มันเส้น ข้าวเปลือก ข้าโพดบด วันละ 2 กก./ตัว/วัน หรือ มันสำปะหลังสับทั้งต้นและใบปนกันตากแห้ง ราดด้วยกากน้ำตาลผสมเกลือพอได้รสชาดก็เป็นอาหารเสริมไดเป็นอย่างดี ใบกระกินสดกินได้เต็มที่คุณค่าทางอาหารดีมาก หลังคลอดเป็นระยะเร่งอาหารบำรุงแม่โค
4.ฟางหมักหรือฟางปรุงแต่ง

วิธีเพิ่มการย่อยได้ของฟางและคุณค่าทางอาหารให้ฟางธรรมดๆ เป็นอาหารชั้นดีสำหรับโค
วิธีการ นำฟางแห้ง 100 กก. + น้ำ 20-40 ลิตรละลายปุ๋ยยูเรีย(46-0-0) 5-6 กก. รดน้ำย่ำฟางในถังปูน(ปลอกส้วม)ให้แน่นเป็นชั้นๆ แน่นดีแล้วรดน้ำผสมยูเรียที่เตรียมไว้ให้ทัั่่่วถัง คลุมด้วยผ้ายาง หรือผ้าพลาสติกให้มิดชิด เอาของหนักๆทับไว้ 2-3 สัปดาห์ขึ้นไป ทยอยเปิดให้วัวกิน ราดกากน้ำตาลผสมเกลือเล็กน้อยพอมีรสชาติ ถือว่าเป็นอาหารหยาบอย่างดีสำหรับโคในหน้าแล้ง นวดข้าวเสร็จเก็บฟางให้มากที่สุดไว้เลี้ยงโคในหน้าแล้ง หญ้าสดให้เป็นอาหารเสริม น้ำสะอาดต้องมีให้โคดื่มอย่างเพียงพอ ระวังโคขาดเกลือ!!!!
ทำอ่างเกลืออย่างง่ายใช้เกลือผสมดินจอมปลวกอย่างละครึ่งใส่อ่างยางรถยนต์ให้เลียกิน

5.การดูแลโค

-เมื่อลูกโคอายุ 3 สัปดาห์ ควรถ่ายพยาธิตัวกลม และถ่ายซ้ำอีกเมื่ออายุ 6 สัปดาห์
-ฉีดวัคซีนป้องกันโรคแท้งติดต่อ (บรูเซลโลซีส) แก่ลูกโคเพศเมีย อายุ 3 - 8 เดือน
-เมื่อลูกโคอายุ 4 เดือน ทำการฉีดวัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อยและทุกๆ 4-6 เดือน
-ฉีดวัคซีนโรคคอบวมทุกๆ 6 เดือน
- ลูกโคตัวผู้ที่ไม่ต้องการใช้ทำพันธุ์ ควรตอนเมื่ออายุประมาณ 5 - 6 เดือน
-ควรหย่านมลูกโคที่อายุประมาณ 6 เดือนครึ่ง ถึง 7 เดือนน้ำหนัก 180 กก. ลูกโคที่ขนหยอง แสดงว่าแม่มีนมไม่พอเลี้ยงลูก ควรรีบหย่านมนำมาเลี้ยงดูเอง หย่านมช้าแม่โคโทรม
-การผสมนมให้ลุกโคที่แม่ไม่มีนมให้ใช้หางนมผงเลี้ยงสัตว์ 1 กก. น้ำสุก 8 ลิตร ให้กินวันละไม่น้อยกว่า 4 ลิตร/ตัว
6.การหย่านมโดยแยกลูกโคจากแม่ นำไปขังในคอกที่แข็งแรง ควรให้แม่โคอยู่ในแปลงหญ้าหรือคอกที่มีรั้วกั้นซึ่งอยู่ใกล้กันเป็นเวลา 3 - 5 วัน เพราะหากให้ไปอยู่ไกลแม่โคส่วนหนึ่งจะแหกรั้วไปหาลูก
โคสาวที่คลอดลูกตัวแรกที่อายุ 2 ปีประมาณเกือบ 50% อาจต้องช่วยเหลือ หากถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว 2 ชั่วโมง ลูกยังไม่คลอดออกมาควรให้การช่วยเหลือโดยล้วงดึงออกมา


การฉีดวิตามินบำรุงแนะนำให้ฉีด วิตามิน “เอดีอี” 5 ซีซี เข้ากล้าม 1เดือนก่อนผสมและ 1 เดือนก่อนคลอดเป็นการบำรุงระบบสืบพันธุ์ หรือบำรุงแม่โคที่กินฟางนานๆ

ควรใช้อีเอ็มราดพื้นคอกทุกๆสัปดาห์ คอกไม่เหม็นโคสุขภาพดี ได้ปุ๋ยชีวภาพสุดยอดของแท้

เอกสารโดย ไพรัตน์ เลื่อนไธสง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ โทร 043 811128
By: Pairat Luanthaisong, RMUTI, Kalasin


น้ำสุขแซบ

น้ำผลไม้หมักชีวภาพเพื่อสุขภาพ (BE, Bio-Extract, Juice for Health)
โดย ไพรัตน์ เลื่อนไธสง Pairat Luanthaisong
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์


เป็นการหมักผลไม้กับน้ำตาลโดยอาศัยจุลินทรีย์ในธรรมชาติ เป็นตัวช่วยในการหมัก ดังนั้นน้ำผลไม้หมักจึงมี จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร ป้องกันท้องผูก และใช้เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเพราะได้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในธรรมชาติอย่างมหาศาล แซบแบบมีสุขภาพ เรียกได้ว่าน้ำสุขแซบ
วิธีทำ
ใช้ผลไม้สุก 3 กก.ล้างให้สะอาดแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ คลุกเคล้ากับน้ำตาลทราย 1 กก.แล้วหมักไว้ในภาชนะปิดที่ไม่ให้อากาศเข้าได้แต่สามารถระบายก๊าชที่เกิดขึ้นได้พอสมควร ทิ้งไว้ 7 วัน จะมีน้ำหมักเกิดขึ้นเรียกว่าน้ำผลไม้บีอีเข้มข้น เก็บไว้ในตู้เย็นนำมาเจือจางด้วยน้ำสุก ให้หวานพอดีดื่มได้ หรืออาจนำน้ำผลไม้บีอีเข้มข้นไปขยายต่อกับน้ำสะอาด 1:2 ถึง 1 :5 ส่วน ตามแต่ชนิดของผลไม้หรือความเข้มข้นที่ต้องการ โดยเติมน้ำตาลอีกหนึ่งส่วน หรือ ตามความหวานที่ต้องการ อาจใช้น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อยสด ทิ้งไว้ในภาชนะปิด 3-5 วัน แล้วเก็บเข้าตู้เย็นไว้เป็นเครื่องดื่มหวานเย็นชื่นใจ หรือเสิร์ฟกับน้ำแข็งบด ดื่มบำรุงสุขภาพ หากทิ้งไว้นานจะกลายเป็นเหล้าไวน์แบบธรรมชาติ การดื่มควรดื่มก่อนอาหาร 1 แก้วเป็นประจำ หรือดื่มแทนนมเปรี้ยว

หากผลไม้ไม่ค่อยมีน้ำมากนักให้ใช้น้ำตาลทราย 1 กก.ละลายในน้ำ 2 ลิตร จึงนำไปคลุกเคล้าในการหมักทำเช่นเดียวกัน ผลไม้ที่แนะนำเช่น หมากเม่า ฝรั่ง สับปะรด แตงโม มะเฟือง มะม่วง องุ่น ผลไม้ที่มีรสฝาดเปรี้ยวจะให้รสที่ดีหรือผลไม้ตามฤดูกาลที่ราคาถูก หรืออาจทำผลไม้หลายชนิดหมักรวมกันก็ได้

เทคนิคการเพิ่มผลผลิตอ้อย


เทคนิคการเพิ่มผลผลิตอ้อย
โดย อาจารย์ไพรัตน์ เลื่อนไธสง Pairat Luanthaisong
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ โทร 043-841128

1.พันธุ์และการเตรียมท่อนพันธุ์ พันธุ์อ้อยที่แนะนำให้ปลูก เช่น อู่ทอง 1,อู่ทอง 2 ,อู่ทอง 3 เค84-200 เค88-92 เค90-77 และ อู่ทอง4 ท่อนพันธ์ต้องสมบูรณ์ไม่มีโรคมีอายุประมาณ 8-10 เดือน แปลงพันธุ์ 1 ไร่ปลูกขยายได้ 10 ไร่ ควรแช่ท่อนพันธุ์ในน้ำร้อน 50 องศาเซลเซียส นาน 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันโรคใบขาวและกอตะไคร้ จากนั้นแช่ท่อนพันธุ์ในสารเคมีโพรนิโคนาโซล อัตรา 66 ซีซี/น้ำ20 ลิตร นาน 30 นาทีเพื่อป้องกันโรคแส้ดำเหี่ยวเน่าแดงและกลิ่นสัปปะรด
2.ฤดูปลูก
1. การปลูกอ้อยต้นฝน ซึ่งยังแบ่งออกเป็น 2 เขต คือ - ในเขตชลประทานปลูกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน - ในเขตอาศัยน้ำฝน ปลูกในช่วงเดือนเมษายน - มิถุนายน 2. การปลูกอ้อยปลายฝน (การปลูกอ้อยข้ามแล้ง)ปลูกประมาณกลาง ตุลาคมถึงธันวาคม ปลูกได้ในเขตที่การกระจายฝนดี
3.การเตรียมดิน
ถ้าดินเสียเป็นดานแข็งต้องระเบิดดินด้วยไถสิ่ว ลึก 75 ซม.ขณะดินแห้งก่อน ถ้าปลูกต้นฤดูฝนหรือปลูกอ้อยใช้น้ำชลประทาน ไม่จำเป็นต้องไถพรวนจนดินแตกละเอียดแต่ถ้าปลายฝนหรือปลูกอ้อยข้ามแล้ง ต้องไถพรวนจนหน้าดินแตกละเอียดขณะมีความชื้น เพื่อช่วยลดความสูญเสียความชื้นภายในดิน การปลูกอ้อยน้ำฝนแบบแถวเดี่ยวจะยกร่องกว้าง 1.0-1.2 เมตร การปลูกแบบแถวคู่ ระยะแถว 1.4-1.5 เมตร ระยะระหว่างคู่แถว 20-30 เซนติเมตร

4.การปลูก
ใช้ ร็อคฟอสเฟต (0-3-0) 150-200 กก./ไร่ รองก้นหลุมปลูกจะทำให้อ้อยทนแล้งได้ดี
1.การใชัคนปลูก การปลูกอ้อยแบบทั้งลำในเขตน้ำฝน ระยะแถว 1.0-1.2 เมตร วางพันธุ์อ้อยเป็นลำโดยใช้ลำเดี่ยว เกยกันครึ่งลำหรือ 2 ลำคู่ ตามลักษณะการแตกกอของพันธุ์อ้อยที่ใช้ ระยะระหว่างคู่แถว 20-30 เซนติเมตรแล้ววางลำอ้อยในร่องใช้มีดสับลำอ้อยเป็น 2-3 ส่วน กลบดินหนา 10-15 ซม.เหยียบดินกลบให้แน่น เพื่อให้ท่อนสัมผัสกับดินชื้นมากที่สุด หากท่อนพันธุ์ใดไม่งอก ให้ปลูกซ่อมหลังการปลูกให้ปลูกซ่อมหลังการปลูก 2-3 สัปดาห์ 2. การใช้เครื่องปลูก หลังจากเตรียมดินแล้ว ไม่ต้องยกร่องจะใช้เครื่องปลูกติดท้ายแทรกเตอร์ โดยจะมีตัวเปิดร่อง และช่องสำหรับใส่พันธุ์อ้อยเป็นลำ และมีตัวตัดลำอ้อยเป็นท่อนลงในร่องและมีตัวกลบดินตามหลัง และสามารถดัดแปลงให้สามารถใส่ปุ๋ยรองพื้นพร้อมปลูกได้เลย ใช้ปลูกได้ทั้งแบบแถวเดี่ยวและแถวคู่ ปลูกแถวเดี่ยวระยะแถว 1.4-1.5 เมตร ระยะระหว่างคู่แถว 20-30 เซนติเมตร

5.การป้องกันกำจัดวัชพืช
1. ใช้แรงงานคนดายหญ้าในช่วงตั้งแต่ปลูกจนถึงอายุ 4 เดือน
2. ใช้เครื่องจักรไถพรวนระหว่างร่องหลังปลูก เมื่อมีวัชพืชงอก
3. ใช้สารเคมี เช่น อมีทรีน หรือ อมีทรีนผสมอาทราซีน และเมทริบิวซีนผสมกับ 2,4-ดี วิธีใช้และอัตราตามคำแนะนำที่สลากอย่างเข้มงวด ระวังยาฆ่าหญ้าเป็นสารเคมีที่อันตรายที่สุดไม่แนะนำให้ใช้
6.การใส่ปุ๋ยและบำรุงดิน
ความเป็นกรดด่างของดินที่เหมาะกับอ้อย = 6.0-7.5 ใส่ปุ๋ยเคมีดินต้องมีความชื้นพอ

1. ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 100-150 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง
3. ปุ่ยพืชสดแนะนำปลูกปอเทือง หว่านเพื่อไถกลบใช้เมล็ดประมาณ 3-5 กิโลกรัมต่อไร่ ไถกลบอายุ 40-50 วัน แต่จะมีปัญหาต้นทุนค่าไถค่าปลูก ควรทำเมื่อดินเสื่อมมาก
4. ใส่ปุ๋ยปูนโดโลไมท์ 100-200 กก./ไร่ ปรับสภาพดิน หรือ ลดดินเป็นกรดเพิ่ม ธาตุอาหารพืช หรือใช้ภูไมท์ซัลเฟต 50-100 กก./ไร่ปรับสภาพดินให้มีความเป็นกรด-ด่าง 6.0-7.5
5. ใช้ปุ๋ยคอก 1000-2000 กก./ไร่ เพิ่มความสมบูรณ์ของดิน หรือปุ๋ยหมักแบบชีวภาพ 200-400 กก./ไร่
6. เพิ่มอินทรีย์วัตถุในแปลงปลุก เช่น เปลือกมันจากการเพาะเห็ด แกลบ ฟาง พร้อมฉีดพ่นด้วยปุ๋ยน้ำชีวภาพ หรือ อีเอ็ม

7.การดูแลรักษาอ้อยตอ
การเก็บเกี่ยวควรตัดชิดดินจะได้ไม่ต้องแต่งตออ้อย ไม่ต้องเผาใบหรือเศษเหลือในไร่นอกจากมีโรคและแมลงระบาด แล้วไถกลบใบ เมื่อมีความชื้นพอให้ใส่ปุ๋ยได้ทันที โดยใส่ปุ๋ยในปริมาณมากกว่าอ้อยปลูกครึ่งหนึ่ง ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 150 กก./ไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง การมีระบบการให้น้ำที่เหมาะสมจึงจะให้ผลผลิตสูงสุด

การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง

เทคนิคการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง
โดย อาจารย์ไพรัตน์ เลื่อนไธสง
Pairat Luanthaisong
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์
โทร 043-841128 ปรับปรุง 2551

1.พันธุ์ที่แนะนำในปัจจุบันคือ
1. พันธุ์ระยอง3 พันธุ์ระยอง60 พันธุ์ระยอง90 พันธุ์ระยอง5 พันธุ์ระยอง72 พันธุ์เกษตรศาสตร์50 หรือห้วยบง 60 แต่ละพันธุ์มีข้อดีข้อเสียใกล้เคียงกัน ท่อนพันธุ์ต้องใช้จากต้นที่มีอายุ 8-12 เดือนขึ้นไป ตัดเหง้าออกใช้ส่วนต้นจะดีกว่าปลาย ท่อนพันธุ์ยาวประมาณ 30-40 ซม.และปลูกตั้งตรงมีตาฝังดินประมาณ 7-12 ตา เคล็ดลับท่อนพันธุ์ต้องสมบูรณ์สดและมีอายุเกิน 8 เดือนใช้ส่วนแก่เท่านั้น มีข้อแนะนำในการใช้ท่อนพันธุ์ยาว 50 ซม.แล้วฟันตาออก 5-9 ตาในส่วนที่จะปลูกลงดินจะให้ผลผลิตสูงขึ้น(ปลูกมันแบบคอนโดที่ชัยถูมิ) แต่บางท่านไม่แนะนำให้เฉือนตาเพราะใช้แรงงานมากและยังไม่มีผลทดลองชัดเจน ปลุกได้เลย

2.การเตรียมดิน
ไถด้วยผาน3 ให้ลึก ทิ้งดินไว้ 25-30 วันให้วัชพืชเกิด หรือไถแล้วอาจฉีดด้วยปุ๋ยน้ำชีวภาพ 1 ลิตร ผสมกากน้ำตาล 1 ลิตร น้ำ 200 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 ไร่ หรือ หว่านด้วยปุ๋ยชีวภาพแห้ง 100 กก./ไร่(4 กระสอบปุ๋ย) และปุ๋ยคอก 20 กระสอบเพื่อเร่งวัชพืชให้งอก แล้วไถพรวนด้วยผาน 7 อีก 1-2 ครั้ง ตามความเหมาะสม จะลดปัญหาวัชพืชได้มาก คราดแล้วยกร่องเตี้ยๆ 30-50 ซม. ร่องห่างกัน 1 เมตร ปลูกห่างกัน 80ซม.- 1 เมตร แต่ถ้าใช้เครื่องจักรทำงานแนะนำ ระยะห่างแถว 120 ซม. ระยะระหว่างต้น 80 ซม. จะทำงานสะดวก การเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดินร่วมกับปุ๋ยชีวภาพจะทำให้ได้ผลผลิตสูง การเพิ่มแกลบ 1คันรถอีแต๋น/ไร่จะดีมากในดินทราย หรือใช้ขี้ไก่ปนแกลบ

3.ฤดูปลูกและวิธีการปลูก
สามารถปลูกได้เกือบตลอดปี แต่ที่นิยมปลูกมีอยู่ 2 ช่วง คือ
1. ต้นฤดูฝน ปลูกประมาณเดือนเมษายน - มิถุนายนปลูกบนสันร่องโดยปักท่อนพันธุ์ตั้งตรงหรือเอียงให้ลึก5-10 ซม. ท่อนพันธุ์ยาว 30-40 ซม. การแช่ท่อนพันธุ์ในน้ำ 1-2 ชั่วโมงก่อนปลูกจะเพิ่มความงอกได้ดี(หรือปุ๋ยน้ำชีวภาพ)
2. ปลายฤดูฝน ปลูกประมาณเดือนกันยายน - พฤศจิกายน ปักท่อนพันธุ์ตั้งตรงให้ลึกไม่น้อยกว่า 20 ซม.ปกติใช้ท่อนพันธุ์ 1,600-2,500 ท่อน/ไร่ ขึ้นกับระยะปลูก

การใส่ปุ๋ยและบำรุงดิน ระวัง! อย่าลืมใส่ปุ๋ยเคมีดินต้องมีความชื้นเพียงพอ
แนะนำให้ใส่ปุ๋ยที่มีสัดส่วนของไนโตรเจน : ฟอสฟอรัส : โปเตสเซี่ยม 2:1: 2 หรือให้ใช้ปุ๋ยดังนี้
1. ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 25 กก./ไร่ ผสมปุ๋ยยูเรีย 9 กก./ไร่ และโปแตสเซี่ยมคลอไรด์ 9 กก./ไร่
2. หรือใช้ปุ๋ยสูตรใกล้เคียงที่หาได้ง่ายในท้องตลาด เช่น 16-16-8 อัตรา 50 กก.ไร่ ก็ได้ ใส่ปุ๋ยเมื่อมันสำปะหลังอายุ 1-2 เดือน ขณะใส่ดินต้อง มีความชื้นโดยขุดหลุมใส่ 2 ข้าง ระยะพุ่มใบแล้วกลบดิน
3. ปุ่ยพืชสดแนะนำปลูกปอเทือง หว่านเพื่อไถกลบใช้เมล็ดประมาณ 3-5 กิโลกรัมต่อไร่ อายุ 40-50 วัน ไถกลบ แต่จะมีปัญหาต้นทุนค่าไถค่าปลูก ควรทำเมื่อดินเสื่อมมาก
4. ใส่ปุ๋ยปูนโดโลไมท์ 50-200 กก./ไร่ ปรับสภาพดิน หรือ ใช้ ร็อคฟอสเฟต(0-3-0) 50-100 กก./ไร่ ลดดินเป็นกรดเพิ่ม ธาตุอาหารพืช หรือใช้ภูไมท์ซัลเฟต 50-100 กก./ไร่ปรับสภาพดินให้มีความเป็นกรด-ด่าง 6.0-7.5
5. ใช้ปุ๋ยคอก 1000-1500 กก./ไร่ เพิ่มความสมบูรณ์ของดิน หรือปุ๋ยหมักแบบชีวภาพ 200 กก./ไร่
6. ในกรณีที่ปลูกพันธุ์ที่ตอบสนองปุ๋ยเคมีได้ดี ควรเพิ่มปุ๋ยเคมีอีก 25-50 กก./ไร่ เช่น ระยอง 3 ระยอง72 ห้วยบง60
7. เพิ่มอินทรีย์วัตถุในแปลงปลุก เช่น เปลือกมันจากการเพาะเห็ด แกลบ ฟาง พร้อมฉีดพ่นด้วยปุ๋ยน้ำชีวภาพ หรือ อีเอ็ม การรองก้นหลุมปลูกหรือร่องปลูกด้วยปุ๋ยชีวภาพ หรือปุ๋ยคอกจะให้ผลผลิตสูง
8. มีปัญหาดินขาดสังกะสี เช่นดินเป็นด่างจัด ดินแคลเซี่ยมสูง ให้ชุบท่อนพันธุ์ด้วยปุ๋ยสังกะสี (ซิงค์ ซัลเฟต) ละลายน้ำในอัตรา 0.4 กก. ต่อน้ำ 20 ลิตร เป็นเวลา 15 นาทีก่อนปลูก (ไม่ค่อยพบในอีสาน)

4.การกำจัดวัชพืช
ใช้แรงงานคนกำจัดวัชพืช 2 ครั้ง เมื่ออายุ 1 และ 2 เดือนหลังปลูก ดูตามสภาพระวังการใช้ยาฆ่าหญ้าเป็นอันตราย ต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมแต่เกษตรกรมีปัญหาแรงงาน จึงต้อฃใช้ตามคำแนะนำของผู้ผลิตอย่างเคร่งครัด หรือหลีกเลี่ยง

5.การเก็บเกี่ยว
อายุที่เหมาะสมประมาณ 10-12 เดือน หลังขุดหัวแล้วควรรีบส่งโรงงานโดยเร็วไม่ควรทิ้งไว้เกิน 4 วัน
การเก็บรักษาต้นพันธุ์ เว้นที่ไว้โดยไม่เก็บเกี่ยวใช้ทำเป็นแปลงพันธุ์ประมาณ 1 ส่วน ใน 10 ส่วน ของพื้นปลูกเพื่อจะได้ใช้ต้นพันธุ์สด หรือ ปักท่อนพันธุ์ ที่ยังไม่ตัดเป็นท่อนสำหรับปลูกในแนวตั้ง ปักไว้ในร่ม กลบโคนด้วยดิน จะรักษาท่อนพันธุ์ได้ 20-30 วัน

การเพาะเห็ดในขอนไม้

การเพาะเห็ดในขอนไม้

โดย อาจารย์ไพรัตน์ เลื่อนไธสง Pairat Luanthaisong
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน กาฬสินธุ์ โทร 043 811128

ขอนไม้หรือกิ่งไม้ขนาดใหญ่จากการตัดแต่งกิ่งไม้เนื้ออ่อนเช่นไม้มะม่วง ขอนไม้เหล่านี้สามารถนำมาเพาะเห็ดได้ เช่นเห็ดขอนขาว เห็ดบด เห็ดหูหนูหรือแม้แต่เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เพื่อเป็นอาหารในครัวเรือน ที่สามารถเก็บกินได้ยาวนานหลายเดือน ไม้ที่นำมาทำเห็ดใช้ไม้มะม่วงได้ทุกชนิด ไม้แค ไม้ฉามฉา ไม้นุ่น ไม้เหลื่อม ไม้ไทร ถ้าเป็นเห็ดขอนขาว หรือ เห็ดบด อาจใช้ไม้เนื้อแข็งก็ได้เช่น ไม้แต้ ไม้ติ้ว ไม้จิก ไม้กระยอม ปกตินิยมเพาะเห็ดขอนขาวและเห็ดบด ไม้เนื้อแข็งเชื้อเดินช้าแต่เกิดดอกนาน
วัสดุอุปกรณ์
1. ขอนไม้ที่ตัดเป็นท่อนสดๆหรือตัดไม่เกิน 7 วัน หรือ หากไม้มียางให้ทิ้งไว้พอหมดยางสัก 2-3 วัน ถ้าไม้แห้งให้แช่น้ำ2-10 วันแล้วแต่ขนาด ดูให้น้ำซึมเข้าเนื้อไม้ให้ชุ่ม
2. ก้อนเชื้อเห็ดที่จะทำ ที่เชื้อเดินเต็มถุงแล้วพร้อมเปิดดอกเชื้อค่อนข้างแก่จะดี
3. เหล็กแป๊บกลวงเจียร์ด้านหนึ่งให้คม ขนาด 4-6 หุน ยาว 5 – 6 นิ้ว
4. ค้อนไม้สำหรับตอกเหล็ก
5. เหล็กกลมขนาด 2-3 หุน ยาว 1 คืบสำหรับกระทุ้งเนื้อไม้ออกจากเหล็กกลวง
(การเจาะไม้หากใช้สว่านไฟฟ้า 5 หุนจะสะดวกมาก)
วิธีทำ
1. ตัดไม้ที่จะนำมาเพาะให้ยาวประมาณ 1 เมตร
2. ใช้เหล็กกลวงตอกให้เป็นรู หรือเจาะด้วยสว่านไฟฟ้า แต่ละรูห่างกัน 1 คืบ ทุกด้าน ถ้าเป็นท่อนใหญ่ หรือ ตอไม้ ให้ตอกสลับกัน
3. การตอกครั้งแรกให้ตอกลึกแค่เปลือก เพื่อเอาเปลือกออกก่อนโดยใช้เหล็กกลมสอดในเหล็กกลวงดันออก
4. ตอกครั้งที่ 2 ให้กินเนื้อไม้ ลึกประมาณ 1-2 นิ้ว (ประมาณ 1 ข้อมือ) นำถุงเชื้อเห็ดที่จะเพาะมาเปิดถุงออกปิก้อนเชื้อเป็นชิ้นเล็กพอควร ยัดลงในรูที่ตอก แล้วปิดด้วยเปลือกไม้ หรือ ไม้ที่ตอกออก หรือใช้ฝาจีบปิดขวดเบียร์ ขวดน้ำอัดลมปิดรูใช้ค้อนตอกให้แน่น
5. ขอนใหญ่ให้เจาะลึก ทำไปให้รอบๆขอนไม้ ยิ่งทำหลายจุดเชื้อจะเดินเร็ว
6. ไม้แห้งต้องแช่น้ำให้อมน้ำก่อนสัก 2-7 คืน ไม้เนื้ออ่อนเชื้อเดินเร็ว ไม้เนื้อแข็งเชื้อเดินช้าแต่เก็บเห็ดได้นาน
วิธีการดูแล
1. นำขอนเห็ดที่อัดเชื้อแล้ว มาวางกองไว้ในที่ร่ม โดยใช้ไม้หมอนรองด้านล่างแล้ววางเรียงเป็นชั้นๆ คลุมด้วยพลาสติกหากเป็นไม้แห้งเปิดรดน้ำ ทุกสัปดาห์ ถ้าไม้สดไม่ต้องรดน้ำ พักไว้ 1 เดือนให้เชื้อเดินให้เต็มขอน
2. เมื่อครบ 1 เดือน เปิดผ้าพลาสติกออก เพื่อให้ขอนไม้แห้ง พักไว้ 1 เดือนเป็นการปล่อยให้เส้นใยเห็ดพักตัวแล้วจึงนำไปกระตุ้นให้เกิดดอกโดยการแช่น้ำ
3. เมื่อครบ 2 เดือนนำไปกระตุ้นให้เกิดดอกโดยการแช่น้ำ ครั้งละ 2-7 วันขึ้นอยู่กับขนาดท่ิอนไม้ ฤดูกาลและความชุมของขอนไม้ ท่อนขนาดใหญ่แช่นาน แล้วเอาขึ้นพักไว้ตากจนแห้ง แล้วเอาลงแช่น้ำอีก ทำสลับอย่างนี้จนเริ่มเห็นดอกเห็ด หรือนำเข้าโรงเรือนรดน้ำจนเกิดดอก
4. นำขอนที่เริ่มเห็นดอกเห็ดไปตั้งชันไว้เห็ดจะเกิดเต็มขอนจากขอนไม้จะกลายเป็นขอนเห็ด สามารถเก็บเป็นอาหารได้ตลอดประมาณ 1 – 2 ปี แล้วแต่ขนาดขอนและชนิดของเนื้อไม้ อาจปล่อยให้ตากฝนตามธรรมชาติก็ได้
5. หากพักในกระโจมผ้าพลาสติกหรือโรงเรือนจะคุมความชื้นได้ดีรดน้ำให้โรงเรือนหรือกระโจมมีความชุ่ม เห็ดจะเิกิดดอกได้ดี หากเห็ดหยุดเกิดดอกให้กระตุ้นโดยทิ้งให้แห้งแล้วแช่น้ำใหม่

ปุ๋ยชีวภาพ

ปุ๋ยน้ำชีวภาพ และการทำปุ๋ยชีวภาพแบบพึ่งตนเอง
จุลินทรีย์จากธรรมชาติเพื่อการเกษตรและสิ่งแวดล้อม
โดย อาจารย์ไพรัตน์ เลื่อนไธสง Pairat Luanthaisong
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน กาฬสินธุ์ โทร 043 811128

ปุ๋ยน้ำชีวภาพ หรือ น้ำสกัดชีวภาพ เป็นของเหลวสีน้ำตาลที่ประกอบด้วย จุลินทรีย์ในธรรมชาติที่เป็นประโยชน์หลายชนิดและอินทรีย์สาร อันเกิดจากการหมักกากน้ำตาลกับ ใบ ต้นพืชสดๆ พืชผัก ผลไม้ เปลือกผลไม้สด ในอัตราที่เหมาะสมทิ้งไว้ระยะเวลาหนึ่งจะได้ของเหลวสีน้ำตาลกลิ่นอมเปรี้ยวอมหวาน เก็บไว้ได้นานสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อม โดยไม่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์แต่ช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผลดีต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค นอกจากนั้นยังช่วยเพิ่มผลผลิต

วิธีทำน้ำหมักชีวภาพ
1. นำใบพืชหรือเศษผัก ผลไม้ หรือเปลือกสับปะรดสดๆ มาหั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ ห้ามใช้เศษพืชที่เน่า
2. ใช้เศษพืชตามข้อหนึ่งในอัตรา 3 กก. ต่อ กากน้ำตาล 1 กก. คลุกเคล้าให้เข้ากันดีหมักไว้ในถัง หรือ ภาชนะที่มีฝาปิด การหมักจะมีก็าชเกิดขึ้นบ้าง ภาชนะจึงต้องระบายก็าชที่เกิดขึ้นได้ดีพอควร ควรใช้ของหนักๆทับไว้
3. ทิ้งไว้ในที่ร่ม 7-10 วัน จะมีของเหลวสีน้ำตาล กลิ่นอมเปรี้ยว อมหวาน เกิดขึ้น นั่นคือ น้ำสกัดชีวภาพ หรือ ชีวภาพ
4. เก็บน้ำสกัดดังกล่าวไว้ในขวดหรือภาชนะที่สะอาดมีฝาปิดไม่ให้สัมผัสอากาศเรียกว่า “น้ำสกัดชีวภาพ” หรือ”ปุ๋ยน้ำเข้มข้น” นำปุ๋ยน้ำเข้มข้น 1 ลิตร+น้ำสะอาด 20 ลิตร+กากน้ำตาล 1 ลิตร หมักขยายในถังปิดที่ระบายก๊าซได้ 10 วัน หรือจนมีฝ้าสีขาวที่ผิวน้ำไม่มีฟอง กลิ่นอมเปรี้ยวอมหวาน ใส่ขวดอุดจุก ไม่แน่นเกินไปเก็บไว้ใช้ได้นานไม่น้อยกว่า 6 เดือน เปิดใช้แล้วรีบปิด หรือใช้ให้หมดภายใน 1 สัปดาห์ (หรือใช้อีเอ็มของแท้ มาขยายก็ได้ผลดีเช่นกัน)

การใช้ประโยชน์น้ำชีวภาพ
1. ใช้ปุ๋ยน้ำเข้มข้น1 ช้อนแกงผสมน้ำ 10 ลิตร ฉีดพ่นพืชผักกินใบ กระตุ้นให้ผักงามคล้ายใช้ฮอร์โนนเร่ง ถ้าเป็นไม้ผลใช้ 2 ช้อนแกงผสมน้ำ 10 ลิตร ฉีดพ่นตามต้นและใบทำให้ติดลูกติดผลดี
2. ใช้ปุ๋ยน้ำเข้มข้น3-4 ช้อนแกงต่อน้ำ 10 ลิตร + กากน้ำตาล 1 แก้ว รดกองปุ๋ยหมัก หรือเศษพืชทิ้งไว้ 2-3 สัปดาห์นำไปคลุมแปลงหรือโคนต้นพืชทำให้พืชงาม หรือพ่นตอซังแล้วไถกลบในนาข้าว
3. ใช้ปุ๋ยน้ำเข้มข้น1 ช้อนแกงผสมน้ำ 10 ลิตร ให้สัตว์ดื่ม เพื่อลดกลิ่นมูลสัตว์และทำให้สัตว์มีสุขภาพดี
4. ใช้ปุ๋ยน้ำเข้มข้นเทราดแก้น้ำเน่าเสีย โดยใช้ ปุ๋ยน้ำเข้มข้น 1 ลิตรต่อน้ำเสียประมาณ 10,000 ลิตร หรือใช้ราดกองขยะที่เน่าเหม็นลดกลิ่น ฉีดพ่นคอกสัตว์ลดกลิ่นเหม็น กำจัดกลิ่นเหม็นในห้องน้ำ
5. ใช้เตรียมแปลงปลูกผัก โดยพรวนดินผสมคลุกเคล้า เศษพืชและปุ๋ยคอก แล้วใช้ปุ๋ยน้ำเข้มข้น 3 ช้อนแกงต่อน้ำ 10 ลิตรผสมรดแปลงที่เตรียมไว้ในอัตราประมาณ 1 ลิตรต่อ ตารางเมตร ทิ้งไว้ 3-7 วันปลูกพืชได้ หรืออาจทิ้งไว้ให้หญ้างอกแล้วพรวนกลบแล้วรด ปุ๋ยน้ำ ซ้ำอีกทิ้งไว้ 2-3 วันปลูกพืชได้

ปุ๋ยชีวภาพสูตรพึ่งตนเอง ใช้มูลสัตว์แห้งป่น 4 ปี๊ป แกลบดำ 1 ปี๊ป รำละเอียด 5 กก. แกลบดิบ หรืออินทรีวัตถุอื่นๆที่หาได้ง่าย 1 ปี๊ป ผสมให้เข้ากันดี แล้วคลุกด้วยน้ำชีวภาพที่เตรียมจากน้ำชีวภาพ เข้มข้น 2 ช้อนแกง กากน้ำตาล 1-2 แก้วผสมน้ำ 20 ลิตร คลุกกับกองปุ๋ยจนปุ๋ยปั้นเป็นก้อนได้พอดีคือไม่เปียกหรือแห้งเกินไป แล้วกองแบนๆบนพื้นซีเมนต์สูง 1 คืบคลุมด้วยกระสอบหรือฟาง ทิ้งไว้ 10-15 วัน ถ้าร้อนจัดเกินไปเปิดกลับกองระบายอากาศ ลักษณะปุ๋ยที่ดีจะมีราขาว แห้งเบา มีกลิ่นเห็ด เก็บไว้ใช้ได้นาน ใช้เป็นปุ๋ยปลูกพืชได้ทุกชนิด

ปุ๋ยหมักชีวภาพจากหอยเชอรี
ใช้หอยสดบดหรือทุบ ใส่ถังไฟเบอร์ เทกากน้ำตาลใส่ทับเป็นชั้นๆ อัตราประมาณ 1 ต่อ 1 (หอน 1 กก. ต่อกากน้ำตาล 1 กก. ปิดฝาแต่ให้อากาศระบายได้ คนสัปดาห์ละครั้งทิ้งไว้ 1-3 เดือน หรือจนหมดฟองอากาศ หากมีกลิ่นเหม็นจัดให้เติมกากน้ำตาลลงไปพอประมาณแล้วคนให้เข้ากันทิ้งไว้กลิ่นเหม็นจะหายไป นำไปใช้แทนปุ๋ยยูเรีย โดยผสมน้ำ 1 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร รดพืชผักจะงามอย่างรวดเร็วผักแข็งแรง

อีเอ็ม(EM) สูตรของ ดร.เทรูโอะ ฮิงะ ชาวญี่ปุ่น มีคุณสมบัติเช่นกัน แต่คุณภาพมาตราฐานมากกว่าเพราะผลิตด้วยกรรมวิธีที่ทันสมัย ผลิตเป็นการค้าจากโรงงานที่จังหวัดสระบุรี ส่วนที่ชื่อคล้ายกันแต่ผลิตที่อื่นเป็นของเลียนแบบ อีเอ็มก่อนใช้ให้ขยายก่อน อีเอ็ม 1 ลิตร + กากน้ำตาล 1 ลิตร +น้ำสะอาด 20 ลิตรหมักไม่ให้อากาศเข้า 4-7 วัน นำไปใช้ให้หมดภายใน 7 วันได้ผลดี การใช้ใช้ตามข้อแนะนำข้างบนคือใช้แทนน้ำชีวภาพนั่นเอง

สูตรปุ๋ยชีวภาพอย่างง่ายได้ผลดี ให้ใช้แกลบ ขี้กบ ขี้เลื่อย ใบไม้แห้งหรือฟาง เทกระจายในคอกวัว ปรับให้พื้นคอกและขี้วัวพอชื้น ไม่เปียกแฉะ หว่านรำให้ทั่วคอกพอประมาณ ใช้อีเอ็มขยาย 2-3 ช้อนแกง กากน้ำตาล 1 แก้ว น้ำ 20 ลิตร พ่น หรือรดด้วยบัวให้ทั่วคอกพอชุ่ม ขังโค หรือ ควายตามปกติ ทำอาทิตย์ตละครั้ง เพียง 4 สัปดาห์ ปุ๋ยคอกจะร่วนซุย นำไปใช้ได้เป็นปุ๋ยชีวภาพของแท้ที่ประหยัด ไม่ต้องนำไปอัดเม็ด ให้เสียเวลาเสียเงินเสียทอง

การทำนาปีผลผลิตสูง

การทำนาปี ทำนา 100 ถัง/ไร่

1.พันธุ์ข้าวพันธุ์ข้าวสำคัญอย่างยิ่งต้องใช้ข้าวสำหรับทำพันธุ์เท่านั้น จะซื้อจากกรมการข้าวหรือคัดพันธุ์เองก็ได้พันธุ์ข้าวที่ใช้ปกติจะใช้พันธุ์ที่ไวต่อช่วงแสง คือจะออกดอกเมื่อกลางวันสั้นกว่า 12 ชม. เช่นข้าวขาวดอกมะละ 105 กข.6 หรือใช้พันธุ์ที่ไม่ไวต่อช่วงแสงโดยจะออกดอกตามอายุที่ปลูก เช่น ชัยนาท-1 ปทุมธานี-1 สุพรรณบุรี กข.10 หรือสันป่าตอง-1 หรือข้าวไม่ไวแสงทุกพันธุ์ อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 100-120 วัน อัตราใช้เมล็ดพันธุ์นาหว่าน 20-25 กก./ไร่ ถ้านาดำตกกล้าใช้ประมาณ 4-6 กก./ไร่ ดำกลีบเดียวจะแตกกอดีที่สุด “ดินเลวดำถี่ ดินดีดำห่าง”
หากใช้ข้าวไวแสงเช่น ข้าวขาวดอกมะลิ105 หรือ กข. 6 อย่ารีบทำนา ให้ทำนาปลายเดือนกรกฎาคม หรือต้นสิงหาคม(หว่านวันแม่เกี่ยววันพ่อ)จะได้ผลผลิตสูง

2.การเตรียมดิน
การทำนาหว่านควรปรับพื้นที่นาหรือการปรับเทือกให้สม่ำเสมอ จะทำให้ควบคุมน้ำได้สะดวก การงอกของข้าวดีเติบโตสม่ำเสมอ การไถไห้ไถดะทิ้งไว้ 10 วันให้วัชพืชงอกก่อน แล้วไถแปร คราดให้ดีเพื่อกำจัดวัชพืช แล้ทำเทือกเหมือนกับจะตกกล้า การทำเทือก ควรทำก่อนหว่านข้าวหนึ่งวัน เพื่อให้ตะกอนตกดีเสียก่อน แล้วแบ่งกระทงนาออกเป็นแปลงย่อยๆ ขนาดกว้าง 3-5 เมตร ยาวตามความยาวของกระทงนาการแบ่งอาจใช้วิธีแหวกร่อง หรือใช้ไหกระเทียมผูกเชือกลากให้เป็นร่องก็ได้ เพื่อให้น้ำตกลงจากแปลงให้หมด และร่องนี้ยังใช้เป็นทางเดินระหว่างหว่านข้าว หว่านปุ๋ย ได้สะดวก ส่วนนาดำก็ไถสองครั้งเช่นกันกำจัดวัชพืชให้ได้มากที่สุด

3.การหว่านข้าวงอกหรือหว่านน้ำตม โดยการนำเอาเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ถูกเพาะให้งอก มีขนาดตุ่มตา (มีรากงอกประมาณ 1-2 มิลลิเมตร) แล้วจึงหว่านลงในกระทงนา วิธีเพาะให้นำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำ 1 คืน แล้วเอาขึ้นจากน้ำ กองในที่ร่มห่มไว้ด้วยกระสอบป่านชุบน้ำ 2 วัน ข้าวก็จะงอกรากออกมา นำไปหว่านได้ต้องหว่านให้เสมอ หากไม่ชำนาญให้ทำแปลงย่อยแคบๆคือประมาณ 3 เมตร การคุมน้ำปกติจะเริ่มปล่อยน้ำเข้านาหลังหว่านข้าวประมาณ 10 วัน ระดับน้ำที่ดีคือไม่เกิน 5 ซม. หากน้ำมากข้าวจะยืดตัวเปลืองปุ๋ยมากได้ข้าวน้อย

4.การใส่ปุ๋ย
ใส่ปุ๋ยครั้งที่1ปุ๋ยรองพื้นหว่าก่นที่จะไถดำ คือหว่านแล้วไถกลบแล้วดำนา ใช้สูตร 16-16-8 หรือ 16-8-8 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนนาหว่านให้หว่าปุ๋ยประมาณ 20-30 วันหลังหว่านข้าว
ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 หรือปุ๋ยแต่งหน้าให้ใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก(เริ่มตั้งท้อง) หรือ 30 วันก่อนข้าวออกดอก (ช่วงเตรียมดินควรใส่ปุ๋ยปูน โดโลไมท์ 2-4 กระสอบ/ไร่)

การใช้ปุ๋ยที่ดีมีประสิทธิภาพสูงสุดต้องใส่ผสมผสานระหว่างปุ๋ยอินทรีย์(หรือปุ๋ยชีวภาพ) โดยใสปุ๋ยคอก 500-1000 กก./ไร่ (หรือปุ๋ยชีวภาพหมักเองประมาณ 250 กก./ไร่) แล้วลดปุ๋ยเคมีลงครึ่งหนึ่ง หรือ ใส่เพียงหนึ่งในสามของอัตราแนะนำ ข้าวไม่ไวแสงจะตอบสนองปุ๋ยดีมาก คือใส่มากได้มากใส่น้อยได้น้อย แต่การทำนาไม่ใช่ให้ได้ข้าวสูงสุด ต้องทำให้ต้นทุนต่ำสุด เกษตรกรจึงควรพิจารณาความคุ้มค่าในการลงทุน

5.การป้องกันกำจัดหอยเชอรี
การป้องกันและกำจัด ควรใช้หลายวิธีร่วมกัน1). ใช้วัสดุกั้น ทุกทางที่น้ำเข้าได้ด้วยเฝือกและตาข่าย 2). เก็บตัวหอยและไข่ด้วยกระชอนที่มีด้ามยาวและที่แซะไข่แล้วนำไปทำลายทุกสัปดาห์ ตลอด 6 อาทิตย์แรก3). ใช้สารกำจัดหอย ทันทีหลังปักดำเสร็จ หรือหลังไขน้ำเข้านาแล้ว 1 – 2 ชั่วโมง และต้องมีน้ำสูง 5 เซนติเมตร ตามคำแนะนำ


สนับสนุนวิชาการโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์

เอกสารโดย: อาจารย์ไพรัตน์ เลื่อนไธสง Pairat Luanthaisong โทร 043 811128

ทำนาชีวภาพ

ทำนาราคาประหยัด ปลอดภัย ไร้สาร!! นาชีวภาพ ข้าวปลอดสารฯ
โดย อาจารย์ไพรัตน์ เลื่อนไธสง Pairat Luanthaisong
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ โทร 043 811128

นาข้าวในพื้นที่ 1 ไร่ ใส่ปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยหมักแห้งหรือโบกาฉิ) 200 กิโลกรัม โดยแบ่งใส่เป็นระยะดังนี้1. ระยะไถพรวน หว่านปุ๋ยชีวภาพประมาณ 100 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ให้ทั่ว ผสมน้ำหมักพืช (หรือจุลินทรีย์อีเอ็ม ) 1 ลิตร กากน้ำตาล 1 ลิตร ในน้ำ 200 ลิตร (1 ถังแดง) ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ฉีดพ่น หรือรดให้ทั่วแล้วไถพรวนทิ้งไว้ 15 วัน เพื่อให้จุลินทรีย์ในน้ำหมักพืชย่อยสลายวัชพืช และเร่งการงอกของเมล็ดข้าวที่หกหล่น และวัชพืช หลังจากไถพรวนแล้ว 15 วัน ให้ฉีดพ่นน้ำผสมน้ำหมักพืช และกากน้ำตาลในอัตราส่วนเท่าเดิมอีกครั้งหนึ่ง แล้วไถกลบเพื่อทำลายวัชพืชให้เป็นปุ๋ยพืชสด2. ไถคราด พ่นน้ำหมักพืชผสมกากน้ำตาลและน้ำในอัตราส่วนเท่าเดิมให้ทั่วอีกครั้งหนึ่ง แล้วไถคราดเพื่อเตรียมปักดำ3. หลังปักดำ 7-15 วัน หว่านปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยหมักแห้ง) 30 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืช(หรือจุลินทรีย์อีเอ็ม) ในอัตราส่วนน้ำหมักพืชและกากน้ำตาลอย่างละ 1 ลิตรต่อน้ำ 200 ลิตร4. ข้าวอายุ 1 เดือน หว่านปุ๋ยชีวภาพ 30 กิโลกรัมต่อไร่แล้วฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืชในอัตราส่วนน้ำ 200 ลิตร ต่อน้ำหมักพืชและกากน้ำตาล อย่างละ 1 ลิตร(สูตรเดิม)
5. ก่อนข้าวตั้งท้องเล็กน้อย หว่านปุ๋ยชีวภาพหรือปุ๋ยหมักแห้ง 40 กิโลกรัมต่อไร่แล้วฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืช ในอัตราส่วนน้ำ 200 ลิตร กับน้ำหมักพืช(หรือจุลินทรีย์อีเอ็ม) และกากน้ำตาลอย่างละ 1 ลิตร6. การป้องกันศัตรูพืช ใช้บรเพ็ด หรือที่อิสานเรียกเครือขอฮอ สด 2 กก.ตัดเป็นท่อนยาว 1 ข้อนิ้วมือ ทุบหรือตำให้แตก แช่ข้าวปลูก 12 กก. ทิ้งไว้ 1 คืนป้องกัน หนอนกอได้เป็นอย่างดี7. การทำลายวัชพืช สำหรับการทำนาข้าวและพืชไร่ หลังจากมีการใช้น้ำหมักพืช(หรือ จุลินทรีย์อีเอ็ม) และปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพแล้ว จะทำให้เมล็ดหญ้าที่พักตัวอยู่ เร่งการงอกขึ้นมาทั้งหมด ทำให้เราสามารถกำจัดวัชพืชได้โดยการไถพรวน เป็นการตัดวงจรชีวิตของวัชพืชเหล่านั้น และมีการหมักทับเป็นปุ๋ยชีวภาพอีกประการหนึ่งด้วย
การทำนาข้าวหอมมะลิ หรือ กข.6(ข้าวนาปี)ต้องตกกล้าต้นเดือนกรกฎาคม ไปปักดำปลายเดือนกรกฎาคม อย่าให้กล้าแก่เกิน 1 เดือน อย่ารีบทำนาจะได้ผลผลิตต่ำ หากเป็นนาหว่านให้หว่านปลายกรกฎาคม หรือต้นสิงหาคม ใช้ข้าวปลูก 20-25 กก.ต่อไร่ หากนาดำใช้ข้าวปลูก 5-6 กก.ต่อไร่ ดำกลีบเดียวดีที่สุด หรือไม่ควรเกิน 2-3 กลีบ
หอยเชอรี่หมัก ทั้งตัวทั้งเปือกบดทั้งไข่ให้ละเอียด 1 กก+ กากน้ำตาล 1 กก. ผสมให้เข้ากัน หมักไว้หนึ่งเดือน คนทุกๆวันหรือจนหมดฟอง ใช้ได้ หรือเติมเชื้อ พด.2 ของกรมพัฒนาที่ดิน 200 กก/ 1 ซอง เป็นไว ใช้ทำนาแทนน้ำหมักพืช เยี่ยมยอดจริงๆ หากมีกลิ่นเหม็นแสดงว่ากากน้ำตาลไม่พอ ให้เติมกากน้ำตาลอีก
แก้ปัญหาความยากจนด้วยแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
ร่วมเฉลิมฉลองทรงครองศิริราชสมบัติครบ 60 ปี 2549
ความร่วมมือ ธ.ก.ส. สกลนคร และ มทร.อีสาน กาฬสินธุ์

เอกสารเผยแพร่บริการวิชาการแก่ชุมชน ฝ่ายบริการวิชาการ กองวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์

ทำนาปรังคุณภาพ

การทำนาปรัง

พันธุ์ข้าว
พันธุ์ข้าวที่ใช้ต้องใช้พันธุ์ที่ไม่ไวต่อช่วงแสงเช่น ชัยนาท-1 ปทุมธานี-1 สุพรรณบุรี กข.10 หรือสันป่าตอง-1 หรือข้าวไม่ไวแสงทุกพันธุ์ อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 100-120 วัน อัตราใช้เมล็ดพันธุ์นาหว่าน 20-25 กก./ไร่
การเตรียมดิน
การปรับพื้นที่นาหรือการปรับเทือกให้สม่ำเสมอ จะทำให้ควบคุมน้ำได้สะดวก การงอกของข้าวดีเติบโตสม่ำเสมอ การไถไห้ไถดะทิ้งไว้ 10 วันให้วัชพืชงอกก่อน แล้วไถแปร คราดให้ดีเพื่อกำจัดวัชพืช แล้ทำเทือกเหมือนกับจะตกกล้า การทำเทือก ควรทำก่อนหว่านข้าวหนึ่งวัน เพื่อให้ตะกอนตกดีเสียก่อน แล้วแบ่งกระทงนาออกเป็นแปลงย่อยๆ ขนาดกว้าง 3-5 เมตร ยาวตามความยาวของกระทงนาการแบ่งอาจใช้วิธีแหวกร่อง หรือใช้ไหกระเทียมผูกเชือกลากให้เป็นร่องก็ได้ เพื่อให้น้ำตกลงจากแปลงให้หมด และร่องนี้ยังใช้เป็นทางเดินระหว่างหว่านข้าว หว่านปุ๋ย ได้สะดวก
การหว่านข้าวงอกหรือหว่านน้ำตม โดยการนำเอาเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ถูกเพาะให้งอก มีขนาดตุ่มตา (มีรากงอกประมาณ 1-2 มิลลิเมตร) แล้วจึงหว่านลงในกระทงนา วิธีเพาะให้นำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำ 1 คืน แล้วเอาขึ้นจากน้ำ กองในที่ร่มห่มไว้ด้วยกระสอบป่านชุบน้ำ 2 วัน ข้าวก็จะงอกรากออกมา นำไปหว่านได้ต้องหว่านให้เสมอ หากไม่ชำนาญให้ทำแปลงย่อยแคบๆคือประมาณ 3 เมตร
การคุมน้ำ
ปกติจะเริ่มปล่อยน้ำเข้านาหลังหว่านข้าวประมาณ 10 วัน ระดับน้ำที่ดีคือไม่เกิน 5 ซม. หากน้ำมากข้าวจะยืดตัวเปลืองปุ๋ยมากได้ข้าวน้อย

การใส่ปุ๋ย
ใส่ปุ๋ยครั้งที่1 สูตร 16-16-8 หรือ 16-8-8 อัตรา 25-30 กิโลกรัมต่อไร่ประมาณ 20-30 วันหลังหว่านข้าว
ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 หรือปุ๋ยแต่งหน้าให้ใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 5-15 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก(เริ่มตั้งท้อง) หรือ 30 วันก่อนข้าวออกดอก (ช่วงเตรียมดินควรใส่ปุ๋ยปูน โดโลไมท์ 2-4 กระสอบ/ไร่)

การใช้ปุ๋ยที่ดีมีประสิทธิภาพสูงสุดต้องใส่ผสมผสานระหว่างปุ๋ยอินทรีย์(หรือปุ๋ยชีวภาพ) โดยใสปุ๋ยคอก 500-1000 กก./ไร่ (หรือปุ๋ยชีวภาพหมักเองประมาณ 250 กก./ไร่) แล้วลดปุ๋ยเคมีลงครึ่งหนึ่ง หรือ ใส่เพียงหนึ่งในสามของอัตราแนะนำ ข้าวไม่ไวแสงหรือข้าวนาปรังจะตอบสนองปุ๋ยดีมาก คือใส่มากได้มากใส่น้อยได้น้อย แต่การทำนาไม่ใช่ให้ได้ข้าวสูงสุด ต้องทำให้ต้นทุนต่ำสุด เกษตรกรจึงควรพิจารณาความคุ้มค่าในการลงทุน

การป้องกันกำจัดหอยเชอรี
การป้องกันและกำจัด ควรใช้หลายวิธีร่วมกัน1). ใช้วัสดุกั้น ทุกทางที่น้ำเข้าได้ด้วยเฝือกและตาข่าย 2). เก็บตัวหอยและไข่ด้วยกระชอนที่มีด้ามยาวและที่แซะไข่แล้วนำไปทำลายทุกสัปดาห์ ตลอด 6 อาทิตย์แรก3). ใช้สารกำจัดหอย ทันทีหลังปักดำเสร็จ หรือหลังไขน้ำเข้านาแล้ว 1 – 2 ชั่วโมง และต้องมีน้ำสูง 5 เซนติเมตร ตามคำแนะนำ



เอกสารโดย: อาจารย์ไพรัตน์ เลื่อนไธสง Pairat Luanthaisong โทร 043 811128
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์

การคัดพันธุ์ข้าวจากข้าวกล้อง

การคัดพันธุ์ข้าวจากข้าวกล้อง
เป็นวิธีการคัดพันธุ์ข้าวที่มีการปนมากหรือกลายพันธุ์ มีท้องไข่หรือท้องปลาซิว เป็นการคัดแม่พันธุ์แท้กลับมา ผู้คัดต้องรู้ลักษณะประจำพันธุ์ของข้าวพันธ์ที่คัด หรืออาจดูจากลักษณะเมล็ดพันธุ์ข้าวที่คัด หรือก็คือพันธุ์ข้าวที่มีมากที่สุดนั่นเอง ข้าวกล้องเป็นข้าวที่ยังมีจมูกข้าวหรือส่วนที่จะงอกเป็นต้นข้าวอยู่ ดังนั้นการคัดต้องเลือกเฉพาะเมล็ดที่มีจมูกข้าวสมบูรณ์อาจทำได้ 2 วิธีคือ

1.การแกะข้าวกล้องด้วยมือสำหรับต้องการเชื้อพันธุ์แท้ไม่มาก

มีขั้นตอนดังนี้
1. นำเมล็ดข้าวเปลือกสายพันธุ์ที่ต้องการมาประมาณครึ่งกิโลกรัม
2. ฝัดทำความสะอาดเพื่อให้เมล็ดลีบออกไป
3. แกะเปลือกด้วยมือโดยแกะจากทางด้านหางของเมล็ดข้าวเพื่อไม่ให้จมูกข้าวถูกทำลาย
4. เลือกข้าวกล้องเมล็ดสมบูรณ์ตรงตามสายพันธุ์ และเมล็ดมีความมันวาว ไม่เป็นโรค ไม่เป็นท้องไข่หรือท้องปลาซิวให้ได้จำนวนประมาณ 100 เมล็ด ที่สำคัญจมูกข้าวต้องไม่หัก
5.นำเมล็ดข้าวกล้องที่คัดเลือกได้ไปเพาะเป็นต้นกล้า

2. การกะเทาะด้วยเครื่องสีข้าวกล้อง
มีขั้ตอนดังนี้
1. นำเมล็ดข้าวเปลือกพันธุ์ที่ต้องการมาประมาณ 1-2 กิโลกรัม หรือตามต้องการ
2. ฝัดทำความสะอาดเพื่อให้เมล็ดลีบออกไป
3. นำข้าวเปลือกไปสีด้วยเครื่องสีข้าวกล้อง
4. นำข้าวกล้องที่สีได้มาฝัด
5. เลือกข้าวกล้องเมล็ดสมบูรณ์ตรงตามสายพันธุ์ เมล็ดมีความมันวาว ไม่เป็นโรค และ ไม่เป็นท้องไข่หรือท้องปลาซิวให้ได้จำนวนตามที่ต้องการ ที่สำคัญจมูกข้าวต้องไม่หัก
6. นำเมล็ดข้าวกล้องที่คัดเลือกได้ไปเพาะเป็นต้นกล้า

หลักการเพาะและปลูกข้าวจากข้าวกล้อง
1. ล้างเมล็ดข้าวที่คัดไว้ให้สะอาด ระวังอย่าให้จมูกข้าวหัก
2. แช่น้ำสะอาดให้เมล็ดเริ่มแทงราก
3. นำไปปลูกในดินหรือกระถางที่เตรียมไว้ หากปลูกในดินให้ปลูกให้เป็นแถวห่างกันประมาณ 30-45 ซม. หากปลูกในแปลงนาต้องระวังข้าวที่ไม่ต้องการเกิดปนมา ต้องกำจัดทิ้ง
4. ระวังมดกินเมล็ดข้าวเพราะข้าวกล้องหอมมดชอบกิน อาจต้องทำคูน้ำเล็กๆกันมด


เอกสารโดย อาจารย์ไพรัตน์ เลื่อนไธสง Pairat Luanthaisong
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ โทร 043 811128
(ข้อมูลจาก มูลนิธิข้าวขวัญ)

ทำนา 100 ถัง ข้าวคือชีวิต

ทำนา 100 ถัง/ไร่ ไม่ใช่เพ้อฝัน ท่านก็ทำได้ แล้วทำไมเราไม่ทำ?
โดย อาจารย์ไพรัตน์ เลื่อนไธสง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ โทร 043 811128

ปัญหาในการทำนา
วิธีแก้ไข
1. ดินไม่ดี
ดินทรายจัด ขาดอินทรีย์วัตถุ ขาดธาตุอาหารพืช ขาดเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ ดินเค็ม
(จุลินทรีย์ เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น มีอยู่ทั่วไป มีทั้งเป็นประโยชน์และเป็นโทษ)
1. ปรับปรุงดิน โดยเพิ่มอินทรีย์วัตถุ เช่นแกลบดิบ 1-2 รถหกล้อต่อไร่ หรือ ปุ๋ยคอก 1-2 ตัน/ไร่ หรือ ฟางแห้งไร่ละ 1-2 ตัน หากข้าวมีอาการใบเหลืองหว่านปุ๋ยยูเรีย 4-5 กก.ต่อไร่ ควรใช้ ปุ๋ยปูนโดโลไมท์ 50-200 กก.+ภูไมท์* 20-100 กก. หรือปลูกโสนอัฟริกัน 7-10 กก./ไร่เป็นปุ๋ยพืชสดลวกน้ำร้อนจัด แล้วหว่าน 45-60 วันไถกลบ ดินเค็มให้ใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยชีวภาพ งดใช้ปุ๋ยเคมี
*ภูไมท์ เป็นแร่ธรรมชาติจากเถ้าภูเขาไฟที่ช่วยจับยึดปุ๋ยไม่ให้ละลายทิ้งไป ทำให้ปุ๋ยเป็นประโยชน์ได้เต็มที่และป้องกันโรคข้าวได้
2. พันธุ์ไม่ดี
พันธุ์พื้นเมืองที่ดี ควรอนุรักษ์ไว้ เช่นข้าวกอเดียว เขาวงกาฬสินธุ์
2. ใช้เมล็ดพันธุ์ดี ที่เก็บถูกวิธีหรือซื้อจากหน่วยราชการแต่เก็บทำพันธุ์ต่อได้ไม่เกิน3- 4 ปีต้องซื้อใหม่เพราะจะมีข้าวปนมาก หรือต้องรู้วิธีคัดพันธุ์ข้าวเอง นาดำ 1ไร่ใช้ข้าวปลูก 4-6 กก./ไร่ นาหว่านใช้ 20-25 กก./ไร่ ข้าวที่หว่านให้แช่น้ำ 1 คืน นำมากองห่มด้วยกระสอบเปียกอีก 1 คืน แล้วนำไปหว่าน
3. ตกกล้าเร็วเกินไป หรือทำนาเร็วเกินไป
กล้าอายุเกิน 30 วันจะแตกกอน้อย ข้าวไวแสง(กข.6,มะลิ) ดำนาเร็วหรือช้าจะออกรวงพร้อมกัน แต่ดำเร็วเปลืองปุ๋ย ฟางมากเมล็ดข้าวน้อย
3. ตกกล้าต้นเดือน กรกฎาคม อายุกล้าที่ดำไม่ควรเกิน 30 วัน ดำนาปลายเดือนกรกฎาคม หรือต้นสิงหาคม นาหว่านก็ทำช่วงเดียวกัน อย่าเร่งปุ๋ยยูเรียใส่กล้าแม้จะงามถอนง่าย แต่อ่อนแอแมลงโรครบกวนได้ง่าย หรือให้ใช้ปุ๋ยคอกในการเตรียมแปลงกล้าหรือใช้ ร็อคฟอสเฟต(ปุ๋ยสูตร 0-3-0) 50-100 กก./ไร่ตอนเตรียมดินในแปลงกล้าหรือแปลงนา ดำนากลีบเดียวแตกกอดีที่สุด
อายุต้นข้าวนับจากปลูกถึงเกี่ยว 120-125 วัน จะให้ผลผลิตสูงสุด
4. ใส่ปุ๋ยไม่ถูกวิธี ใส่ไม่ถูกจังหวะ
ทำให้ข้าวไม่แตกกอ เมล็ดไม่เต็ม ข้าวลีบมากไม่มีน้ำหนัก

(ทำปุ๋ยให้เป็นปุ๋ยละลายช้าก่อนใช้โดย ใช้ปุ๋ย 5 กกพรมน้ำพอเปียก คลุกกับ ภูไมท์ 1 กก. หมักไว้ 1 คืน ก่อนนำไปใช้ ประหยัดปุ๋ยลงได้มาก)
4. ให้ใส่ปุ๋ยเคมี 2 ครั้ง ให้ถูกจังหวะ
ครั้งแรก ปุ๋ยรองพื้น นาดินทรายใช้สูตร 16-16-8 หรือ 15-15-15 อัตรา 20-25 กก. ใส่ก่อนปักดำโดยหว่านแล้ไถกลบแล้วดำ หรือใส่ในวันปักดำ (ดินเหนียว 16-20-0) นาหว่านใส่ปุ๋ย 10 วันหลังหว่านข้าว ใช้ปุ๋ยที่มีธาตุรองด้วยจะดีกว่า(มังกานีสและกำมะถัน)
ครั้งที่ 2 ปุ๋ยแต่งหน้า ใช้ปุ๋ยยูเรีย( 46-0-0) 5-10 กก.ต่อไร่ใส่ตอนข้าวท้องอ่อน ถ้าเป็น กข.6 หรือ มะลิ 105 (หรือประมาณวันที่ 20 กันยายน)
ปุ๋ยเคมีต้นทุนสูง ดินเสื่อม ควรหันมาใช้ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยหมัก ต้นทุนถูกกว่าบำรุงดินดี ผลดีต่อสิ่งแวดล้อม แต่ต้องผลิตปุ๋ยชีวภาพเองจึงจะคุ้ม
5. มีศัตรูข้าวรบกวน มีวัชพืช

ยาฆ่าหญ้าเป็นอันตรายต่อคน สัตว์และสิ่งแวดล้อมสูงมากไม่แนะนำให้ใช้
5. ก่อนตกกล้าป้องกันหนอนกอโดย แช่ข้าวปลูก 12 กก. กับเครือขอฮอ(บอระเพ็ด) สดตัดเป็นท่อนสั้นตำพอแตก 2 กก 1 คืน หรือ ใช้เครือขอฮอสด 10 กก./ไร่ หว่านให้ทั่ว
หากมีหอยเชอรี่ปักไม้ล่อหอยมาวางไข่เก็บทำลายทั้งตัวและไข่ กรองน้ำเข้านา ยาเส้น ต้นและใบยาสูบ ปูนขาว ฆ่าหอยได้ กำจัดวัชพืชโดย ปลูกถั่วฮามาต้า เลี้ยงวัวไว้กินหญ้า ตามคันนา การทำนาช้าวัชพืชจะน้อยลง
6.ดินนาขาดจุลินทรีย์ธรรมชาติ
ทำให้การย่อยสลายเศษพืชไม่ดี
ถ้าใส่อินทรียวัตถุมากเกิดข้าวเหลือง ให้ใช้ปุ๋ยยูเรีย 5 กก./ไร่ แก้ได้
6. ใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ เช่น อีเอ็ม หรือชนิดทำเองฉีดพ่นอย่างสม่ำเสมอ หรือใช้ปุ๋ยชีวภาพ หมักแห้ง 150-200 กก./ไร่ +ปุ๋ยพืชสด+แกลบดิบ จะดีที่สุดทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมี
อย่าเผาตอซังหลังเกี่ยวข้าว หว่านปุ๋ยชีวภาพไถกลบไว้ หรือลงแกลบไว้ในหน้าแล้งหว่านปุ๋ยชวีวภาพเมื่อฝนมาแล้วไถกลบ หว่านโสนอัฟริกัน 45-50 วันหว่านปุ๋ยขีวภาพไถกลบทิ้งไว้ 10 วันดำนาได้ ต้นทุนต่ำ โปรดหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีทุกชนิด
นาชีวภาพ
ใชัปุ๋ยชีวภาพแห้งและน้ำ ปีที่ 1 ใชัปุ๋ยชีวภาพแห้งอัตรา 200 กก./ไร่ แบ่งใส่ 3 ครั้ง ก่อนไถ หลังปักดำ และข้าวอุ้มท้อง หรือใส่ครั้งเดียวก่อนไถกลบ ปีต่อไปใช้ลดลงปีละ 50 กก. หากดินฟื้นตัวมีชีวิตแล้วไม่จำเป็นต้องใช้ ใช้เพียงน้ำหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตรน้ำ/ไร่ + 100-200 ลิตร+ กากน้ำตาล 1 ลิตร ก่อน สาดให้ทั่วนาก่อนไถกลบ หรือ ใส่เมื่อฝนตกหนักในนาข้าว
หรือทำนาแบบขี้เกียจ ง่ายๆ ไถ กลบตอซัง หว่านฟางคลุม ปล่อยน้ำเข้านา พร้อมปุ๋ยน้ำชีวภาพ 1 ลิตร+น้ำ 100 ลิตร+ กากน้ำตาล 1 ลิตรปล่อยตามน้ำไหลเข้านา หรือใช้วิธีสาดให้ทั่วแปลงนา ก่อนไถ หรือปักดำ
การหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพ ต้องควบคุมคุณภาพให้ดี หรือ ใช้เชื้อ พด. ของ กรมพัฒนาที่ดิน
หรือใช้เชื้อ อีเอ็ม ของแท้ คุณภาพแน่นอนกว่า