วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2552

เทคนิคการเพิ่มผลผลิตอ้อย


เทคนิคการเพิ่มผลผลิตอ้อย
โดย อาจารย์ไพรัตน์ เลื่อนไธสง Pairat Luanthaisong
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ โทร 043-841128

1.พันธุ์และการเตรียมท่อนพันธุ์ พันธุ์อ้อยที่แนะนำให้ปลูก เช่น อู่ทอง 1,อู่ทอง 2 ,อู่ทอง 3 เค84-200 เค88-92 เค90-77 และ อู่ทอง4 ท่อนพันธ์ต้องสมบูรณ์ไม่มีโรคมีอายุประมาณ 8-10 เดือน แปลงพันธุ์ 1 ไร่ปลูกขยายได้ 10 ไร่ ควรแช่ท่อนพันธุ์ในน้ำร้อน 50 องศาเซลเซียส นาน 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันโรคใบขาวและกอตะไคร้ จากนั้นแช่ท่อนพันธุ์ในสารเคมีโพรนิโคนาโซล อัตรา 66 ซีซี/น้ำ20 ลิตร นาน 30 นาทีเพื่อป้องกันโรคแส้ดำเหี่ยวเน่าแดงและกลิ่นสัปปะรด
2.ฤดูปลูก
1. การปลูกอ้อยต้นฝน ซึ่งยังแบ่งออกเป็น 2 เขต คือ - ในเขตชลประทานปลูกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน - ในเขตอาศัยน้ำฝน ปลูกในช่วงเดือนเมษายน - มิถุนายน 2. การปลูกอ้อยปลายฝน (การปลูกอ้อยข้ามแล้ง)ปลูกประมาณกลาง ตุลาคมถึงธันวาคม ปลูกได้ในเขตที่การกระจายฝนดี
3.การเตรียมดิน
ถ้าดินเสียเป็นดานแข็งต้องระเบิดดินด้วยไถสิ่ว ลึก 75 ซม.ขณะดินแห้งก่อน ถ้าปลูกต้นฤดูฝนหรือปลูกอ้อยใช้น้ำชลประทาน ไม่จำเป็นต้องไถพรวนจนดินแตกละเอียดแต่ถ้าปลายฝนหรือปลูกอ้อยข้ามแล้ง ต้องไถพรวนจนหน้าดินแตกละเอียดขณะมีความชื้น เพื่อช่วยลดความสูญเสียความชื้นภายในดิน การปลูกอ้อยน้ำฝนแบบแถวเดี่ยวจะยกร่องกว้าง 1.0-1.2 เมตร การปลูกแบบแถวคู่ ระยะแถว 1.4-1.5 เมตร ระยะระหว่างคู่แถว 20-30 เซนติเมตร

4.การปลูก
ใช้ ร็อคฟอสเฟต (0-3-0) 150-200 กก./ไร่ รองก้นหลุมปลูกจะทำให้อ้อยทนแล้งได้ดี
1.การใชัคนปลูก การปลูกอ้อยแบบทั้งลำในเขตน้ำฝน ระยะแถว 1.0-1.2 เมตร วางพันธุ์อ้อยเป็นลำโดยใช้ลำเดี่ยว เกยกันครึ่งลำหรือ 2 ลำคู่ ตามลักษณะการแตกกอของพันธุ์อ้อยที่ใช้ ระยะระหว่างคู่แถว 20-30 เซนติเมตรแล้ววางลำอ้อยในร่องใช้มีดสับลำอ้อยเป็น 2-3 ส่วน กลบดินหนา 10-15 ซม.เหยียบดินกลบให้แน่น เพื่อให้ท่อนสัมผัสกับดินชื้นมากที่สุด หากท่อนพันธุ์ใดไม่งอก ให้ปลูกซ่อมหลังการปลูกให้ปลูกซ่อมหลังการปลูก 2-3 สัปดาห์ 2. การใช้เครื่องปลูก หลังจากเตรียมดินแล้ว ไม่ต้องยกร่องจะใช้เครื่องปลูกติดท้ายแทรกเตอร์ โดยจะมีตัวเปิดร่อง และช่องสำหรับใส่พันธุ์อ้อยเป็นลำ และมีตัวตัดลำอ้อยเป็นท่อนลงในร่องและมีตัวกลบดินตามหลัง และสามารถดัดแปลงให้สามารถใส่ปุ๋ยรองพื้นพร้อมปลูกได้เลย ใช้ปลูกได้ทั้งแบบแถวเดี่ยวและแถวคู่ ปลูกแถวเดี่ยวระยะแถว 1.4-1.5 เมตร ระยะระหว่างคู่แถว 20-30 เซนติเมตร

5.การป้องกันกำจัดวัชพืช
1. ใช้แรงงานคนดายหญ้าในช่วงตั้งแต่ปลูกจนถึงอายุ 4 เดือน
2. ใช้เครื่องจักรไถพรวนระหว่างร่องหลังปลูก เมื่อมีวัชพืชงอก
3. ใช้สารเคมี เช่น อมีทรีน หรือ อมีทรีนผสมอาทราซีน และเมทริบิวซีนผสมกับ 2,4-ดี วิธีใช้และอัตราตามคำแนะนำที่สลากอย่างเข้มงวด ระวังยาฆ่าหญ้าเป็นสารเคมีที่อันตรายที่สุดไม่แนะนำให้ใช้
6.การใส่ปุ๋ยและบำรุงดิน
ความเป็นกรดด่างของดินที่เหมาะกับอ้อย = 6.0-7.5 ใส่ปุ๋ยเคมีดินต้องมีความชื้นพอ

1. ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 100-150 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง
3. ปุ่ยพืชสดแนะนำปลูกปอเทือง หว่านเพื่อไถกลบใช้เมล็ดประมาณ 3-5 กิโลกรัมต่อไร่ ไถกลบอายุ 40-50 วัน แต่จะมีปัญหาต้นทุนค่าไถค่าปลูก ควรทำเมื่อดินเสื่อมมาก
4. ใส่ปุ๋ยปูนโดโลไมท์ 100-200 กก./ไร่ ปรับสภาพดิน หรือ ลดดินเป็นกรดเพิ่ม ธาตุอาหารพืช หรือใช้ภูไมท์ซัลเฟต 50-100 กก./ไร่ปรับสภาพดินให้มีความเป็นกรด-ด่าง 6.0-7.5
5. ใช้ปุ๋ยคอก 1000-2000 กก./ไร่ เพิ่มความสมบูรณ์ของดิน หรือปุ๋ยหมักแบบชีวภาพ 200-400 กก./ไร่
6. เพิ่มอินทรีย์วัตถุในแปลงปลุก เช่น เปลือกมันจากการเพาะเห็ด แกลบ ฟาง พร้อมฉีดพ่นด้วยปุ๋ยน้ำชีวภาพ หรือ อีเอ็ม

7.การดูแลรักษาอ้อยตอ
การเก็บเกี่ยวควรตัดชิดดินจะได้ไม่ต้องแต่งตออ้อย ไม่ต้องเผาใบหรือเศษเหลือในไร่นอกจากมีโรคและแมลงระบาด แล้วไถกลบใบ เมื่อมีความชื้นพอให้ใส่ปุ๋ยได้ทันที โดยใส่ปุ๋ยในปริมาณมากกว่าอ้อยปลูกครึ่งหนึ่ง ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 150 กก./ไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง การมีระบบการให้น้ำที่เหมาะสมจึงจะให้ผลผลิตสูงสุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น